วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิของฉัน



ข้อมูลพื้นฐาน

1.ความเป็นมาของวิทยาลัย
1.1      ประวัติ
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เป็นสถานบัน อุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีคุณธรรม มีคุณภาพและทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยและประเทศไทย วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางด้านความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติตนสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้านเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานบันอุดมศึกษาแห่งนี้ เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ในด้านคุณภาพแห่งชีวิต จากเหตุดังกล่าว ข้างต้น ผู้บริหารและคณาจารย์ ในกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ ซึ่งมีทั้งหมด 6 โรงเรียนประกอบด้วย ดังนี้
1.โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ
2.โรงเรียนโปลีเทคนิคระยอง
3.โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
4.โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี
5.โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
6.โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ ชลบุรี
ผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนข้างต้นนี้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาและและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ จึงพร้อมกันจัดตั้งวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาขึ้นในเขต ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยเปิดดำเนินการสอนเมื่อปีพุทธศักราช 2549 ในคณะบริหารธุรกิจ เป็นคณะแรก
               ที่ตั้งของวิทยาลัย เลขที่ 489 หมู่ 2 ถนนประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 โทรศัพท์: 02-172 9623-26 Fax 02-172  9620   E-mail : www.bsc.ac.th  เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายการบริหารจัดการ วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ จึงกำหนด ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และพันธกิจ  เพื่อการดำเนินงานของวิทยาลัย ดังนี้
1.2      ปรัชญา
    บัณฑิตของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิจะมีคุณสมบัติเด่น 3 ประการในการดำเนินชีวิต
คุณธรรม : ประพฤติตนอยู่ในกรอบของศีลธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ อดทน ซื่อสัตย์กตัญญู และทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์
               ปัญญา : มีความรู้จริง  ปฏิบัติได้  ชอบแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต พัฒนาตนให้ทันต่อสภาพการณ์      ประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง
                ความสุข : ประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อดำเนินชีวิต ได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานของผู้มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมประเทศชาติ
1.3      ปณิธาน
พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม มีความสุข รักความเป็นไทย
1.4      วิสัยทัศน์
        วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมีความมุ่งมั่นในการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา โดยมี ทีมงาน ผู้บริหารมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการทางการศึกษามีอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง รักงานด้านการศึกษามีความก้าวหน้าในหน้าที่ ทั้งยังมีความพร้อมในด้าน สื่อการเรียน การสอน ตลอดทั้งอุปกรณ์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการที่ดี บุคลากรมีส่วนร่วม โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ พร้อมที่จะผลิตบัณฑิตที่ดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ สามารถทำงานสนองความต้องการของหน่วยงานงานได้ หรือสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวได้อย่างมีคุณภาพ
1.5      วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้และทักษะที่ดีในสาขาที่ตนถนัด ใส่ใจเพิ่มเติมความรู้ให้ทันสมัย
2. เพื่อศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาการศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
3. เพื่อเป็นศูนย์วิชาการ และให้บริการงานวิชาการแก่สังคม
4. เพื่อส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5. เพื่อฝึกอบรมให้บัณฑิตมีคุณธรรม เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ด้วยความพอเพียง มีน้ำใจ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
6. เพื่อให้นักศึกษา มีความกตัญญูต่อบุพการี ผู้มีพระคุณและรู้คุณแผ่นดิน
1.6      เครื่องหมาย สี และต้นไม้ประจำวิทยาลัย
              เครื่องหมายของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ หมายถึง สถานบันการศึกษาอันตรงคุณค่าบนแผ่นดินทอง
1.7      เครื่องหมายประจำวิทยาลัย ประกอบด้วย
เกลียวเชือก หมายถึง  ความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกันฉันท์พี่น้อง
ดวงอาทิตย์  หมายถึง  แสงแห่งความสดใส เจริญรุ่งเรือง เกียรติยศ  ศักดิ์ศรี และชื่อเสียงของสถานบัน
หนังสือ  หมายถึง  แหล่งความรู้
ตรีอัยวิทย์  หมายถึง  พลังจักรวาล ความเจริญก้าวหน้าบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1.8      สีประจำวิทยาลัย
สีแดง หมายถึง  ความเป็นชาติ ความเจริญและตระหนักถึงบุญคุณแห่งแผ่นดิน
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ โปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักนำในชีวิต
สีทอง หมายถึง  ยึดมั่นในสถานบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่ เคารพรักยิ่งของประชาชนชาวไทย
1.9      สีประจำคณะ
คณะบริหารธุรกิจ คือ สีฟ้า
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ สีเหลือง
1.10     ต้นไม้ประจำวิทยาลัย
คือ ต้นกัลปพฤกษ์ ชื่อสามัญPink Cassia Shower เป็นต้นไม้ยืนต้นซึ่งเป็นไม้พื้น ถิ่นของไทย ลำต้นสีเทา อมน้ำตาล ดอกออกเป็นช่อตามกิ่ง สีชมพูเข้ม และจะเปลี่ยนเป็นสีขาว ก่อนโรย ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์- มีนาคม เป็นไม้ศิริมงคล บ่งบอกถึง ความมีคุณธรรม ความสงบ และสดชื่นแห่งชีวิต
จากการเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพครู วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิอาจารย์ผู้สอนได้ถ่ายทอดวิชาความรู้และสอดแทรกความเป็นครูให้ผู้เรียนเพี่อให้นักเรียนสามารถที่จะนำความรู้ ทฤษฎีต่างๆที่ได้รับมาปรับใช้ในการฝึกสอนได้เป้นอย่างดี ซึ่งอาจารย์ มีรูปแบบที่มีความหลากหลายในการสอนทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยดี ส่วนความสัมพันธ์ของเพื่อนในชั้นเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพครูนั้นมีความกระตือรือร้นในการเรียนทุกคน มีการช่วยเหลือในการเรียนกันอย่างดีเมื่อคนหนึ่งคนใดทำไม่ได้เพื่อนก็จะช่วยกันให้เพื่อนคนที่ทำไม่ได้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งทำกิจกรรมต่างๆภายในห้องก้มีการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรมต่างและรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้เรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพครูกับเพื่อน ป.บัณทิตทุกคน
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพครูจากวิทยาลัยสุวรรณภูมิ
1. มีทักษะในการสอนอย่างเชี่ยวชาญและสร้างสรรค์การเรียนรู้จนสามารถพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพตามความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยปลุกเร้าให้ผู้เรียนแสดงความสามารถอย่างเต็มที่  เน้นการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสนองผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้และมีความสุข  สนุกในการเรียนการสอนมีความสามารถในการสังเกตและรู้จักแก้ไขพฤติกรรม  การเสริมแรงและการลงโทษที่เหมาะสม
3. มีความสามารถในการออกแบบ  วางแผนการสอนการบริหารจัดการชั้นเรียน  วิจัยและพัฒนาการสอน  มีความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถวัดผลประเมินผลพัฒนาการของการเรียนรู้ได้หลายวิธีได้อย่างเหมาะสม  สม่ำเสมอ
4. มีความสามารถในการปลูกฝังวินัย คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดี และถูกต้องต่อผู้เรียน
5. มีความสามารถในการจัดระเบียบเนื้อหาสาระการเรียนรู้  และจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  ให้สอดคล้องกับพัฒนาการผู้เรียนและมีความสามารถพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้ตรงความต้องการของท้องถิ่น
6. มีความสนใจเสาะแสวงหาความรู้  กระตือรือร้นที่อยากเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้



วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฏีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์

         เทคโนโลยีการศึกษาของธอร์นไดค์
ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike.1874-1949) นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวอเมริกาผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ที่เชื่อในเรื่องของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) ธอร์นไดค์ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ของสัตว์ และต่อมาได้กลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทั่วไปโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในนามทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในเรื่องนี้ นอกจากธอร์นไดค์จะได้ย้ำในเรื่องการฝึกหัดดหรือการกระทำซ้ำแล้ว เขายังให้ความสำคัญของการให้รางวัลหรือการลงโทษ ความสำเร็จหรือความผิดหวังและความพอใจหรือความไม่พอใจแก่ผู้เรียนอย่างทัดเทียมกันด้วย  ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response)
ที่ชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการที่มนุษย์หรือสัตว์ได้เลือกเอาปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้องนั้นมาเชื่อมต่อเข้ากับสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ โดยการสร้างสิ่งเชื่อมโยงระหว่าง
สิ่งเร้ากับการตอบสนอง  เรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ว่า ทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับตอบสนอง (
S-R Bond Theory) หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionisms Theory) จากการทดลองและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ อันถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นที่นำไปสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน
กฎทั้ง
3 ได้แก่
1.1.1           กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรุปงาน GDT407 ครั้งที่ 1

การเรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา GDT 407  13 พฤจิกายน 2553
-ข้อมูลดิบ คือข้อมูลยังไม่มีการประมูลผล
-สารสนเทศคือข้อมูลดิบที่นำมาประมูลและจัดข้อมูลอย่างมีระบบ
- ความหมาย คุณค่า ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

เทคโนโลยี หมายถึง เป็นการนำวิธีการ แนวคิดใหม่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบในการพัฒนาและปฎิบัติ
-เทคโนต้องประกอบด้วย 3องค์ประกอบ

  1. ข้อมูล (Input)
  2. กระบวนการ (Process)
  3. ผลลัพธ์ (Output)
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการหรือการกระทำแต่เดิมให้เพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้
    
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
  1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากสิ่งที่เคยมีนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
  2. ความคิดหรือการกระทำนั้น มีการพิสูจน์ด้วยการทดลอง วิจัย ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมีประสิทธิ์ภาพสูงขึ้น
  3. การนำวิธีระบบมาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
  4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบงานในปัจจุบัน
- การสมัคร Gmail
-สร้าง blog ของตัวเอง สร้าบทความใน blog แล้วเผยแพร่